รางวัลเชิดชูเกียรติ ของ คาร์ล แบร์รี ชาร์เพลส

ชาร์เพลสได้รับรางวัลโนเบลสองครั้งในสาขาเคมีใน ค.ศ. 2001 สำหรับผลงานปฏิกิริยาออกซิเดชันโดยมีตัวเร่งปฏิกิริยาไครัลและใน ค.ศ. 2022 สำหรับผลงาน "เคมีคลิก"[2][15]

ใน ค.ศ. 2019 ชาร์เพลสได้รับรางวัลเหรียญพรีสต์ลีย์ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดของสมาคมเคมีแห่งสหรัฐสำหรับ “การคิดค้นปฏิกิริยาออกซิเดชันแบบอสมมาตร แนวคิดเคมีคลิก และการพัฒนาปฏิกิริยาไซโคลแอดดิชันระหว่างเอไซด์และอะเซทิลีนโดยใช้ทองแดงเร่งปฏิกิริยา[4][5]

เขาดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคุณประจำมหาวิทยาลัยคีวชู และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากราชสถาบันเทคโนโลยีคอเทฮอ (ค.ศ. 1995) มหาวิทยาลัยเทคนิคมิวนิก (ค.ศ. 1995) มหาวิทยาลัยคาทอลิกลูแว็ง (ค.ศ. 1996) และมหาวิทยาลัยเวสลียัน (ค.ศ. 1999)[7]

แหล่งที่มา

WikiPedia: คาร์ล แบร์รี ชาร์เพลส http://www.nndb.com/people/854/000100554/ http://sciencewatch.com/nobel/predictions/modular-... http://web.mit.edu/newsoffice/1992/safety-0311.htm... http://www.scripps.edu/chem/sharpless/ //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11433435 http://uli.nli.org.il/F/?func=find-b&local_base=NL... http://data.bibliotheken.nl/id/thes/p072982888 //doi.org/10.1002%2F1521-3773(20010601)40:11%3C200... //doi.org/10.1071%2FCH06457 //www.worldcat.org/issn/0004-9425